Queue structure


Queue structure
โครงสร้างการทำงานแบบคิวคือการมีการจัดลำดับการเข้าและออกข้อมูลอย่างเป็นลำดับ ข้อมูลใดเข้ามาก่อนก็จะดำเนินการก่อน  หากข้อมูลใดเข้ามาทีหลังก็จะดำเนินการทีหลัง เรียกลักษณะของการดำเนินการแบบนี้ว่า  First In First Out (FIFO) หรือ เข้าก่อนออกก่อน

ลักษณะของคิว
  •        โครงสร้างข้อมูลแบบคิวเป็นโครงสร้างเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น
  •        มีทางเข้าและออก 2  ทาง
  •        มีการทำงานแบบลำดับ
  •        สามารถนำข้อมูลเข้าและนำข้อมูลออกสลับกันได้
  •        มีลำดับการทำงานแบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)

ประเภทของคิว มี 3 ประเภท
  •        คิวธรรมดา (Queue)
  •        คิววงกลม (Circular Queue)
  •        คิวที่เรียงลำดับตามความสำคัญ (Priority Queue)

การดำเนินการของคิว
     เมื่อนำเข้าข้อมูลจะต้องจัดเรียงในลักษณะการต่อท้ายกัน
  •        ข้อมูลที่อยู่ส่วนท้ายของการเก็บข้อมูล เรียกว่า  Rear
  •        ข้อมูลที่อยู่ส่วนหัวของการเก็บข้อมูล ซึ่งจะเรียกว่า  Front
  •        การนำข้อมูลเข้าไปในคิว  เรียกว่า Insert (Enqueue)
  •        การนำข้อมูลออกจากคิว เรียกว่า Remove (Dequeue)

คิวธรรมดา (Queue)

คิวธรรมดา หมายถึง คิวที่มีการนำข้อมูลเข้าทางท้ายคิว (Rear) และนำข้อมูลออกหางคิว (Front) โดยถ้าท้ายคิวไปอยู่ที่ตำแหน่งท้ายสุดของคิวแล้ว ถึงแม้จะมีช่องว่างเหลือที่หัวคิวก็ไม่สามารถนำข้อมูลใหม่ไปเก็บได้ จนกว่าจะนำข้อมูลในคิวออกให้หมดก่อนจึงเริ่มนำข้อมูลใหม่ไปเก็บได้

ตัวอย่าง




การนำข้อมูลเข้า Enqueue
ก่อนนำสมาชิกเข้าคิว ต้องตรวจสอบว่าคิวเต็มหรือไม่ โดยที่ ถ้า rear = maxQ แสดงว่าคิวเต็ม (เมื่อ maxQ คือขนาดของคิว)
·       การนำข้อมูลใหม่เข้ามาแถวคอย จะเพิ่มเข้ามาด้านหลัง
·       และจะนำเข้ามาเรื่อย ๆ จนเต็ม หรือเรียกว่า แถวคอยเต็ม (Queue Overflow)
·       ดังนั้นการนำสมาชิกเข้าคิว จึง เป็นการเพิ่มค่าพอยน์เตอร์ rear
·       หากมีสมาชิกในคิวเพียงค่าเดียวพอยน์เตอร์ rear และ front จะเท่ากัน

ตัวอย่าง




โครงสร้างของการแทนคิวด้วยอาร์เรย์





การนำสมาชิกเข้าคิว (enqueue)




การนำข้อมูลออก  Dequeue
ก่อนนำสมาชิกออกจากคิว ต้องตรวจสอบดูก่อนว่าคิวว่างเปล่าหรือไม่ โดยเงื่อนไขการตรวจสอบคือ front = rear = 0
  •        ข้อมูลที่จะนำออกก่อนจะเป็นข้อมูลที่อยู่ ด้านหน้า
  •        สามารถนำข้อมูลออกเรื่อย ๆ จนไม่มีข้อมูล หรือเรียกว่า แถวคอยว่าง  (Queue Underflow)
  •        ดังนั้นการนำสมาชิกออกจากคิวจึง เป็นการเพิ่มค่าพอยน์เตอร์ front




Queue : Array Implementation








 คิววงกลม (Circular Queue)
คิววงกลม หมายถึง คิวที่ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะเป็นวงกลมเพื่อให้สามารถนำข้อมูลใหม่ไปเก็บไว้ที่ช่องว่างด้านหน้าคิวได้ คิววงกลมออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาคิวธรรมดา

ลักษณะของคิวแบบวงกลม
  •        เหมือนคิวธรรมดาคือมีตัวชี้ 2 ตัวคือ front และ rear สำหรับแสดงตำแหน่งหัวคิวและท้ายคิวตามลำดับ
  •        แตกต่างจากคิวธรรมดา คือ คิวธรรมดาเมื่อ rear ชี้อยู่ที่ตำแหน่งสุดท้ายของคิว จะทำให้ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิวได้อีก ทั้งที่บางครั้งยังมีที่ว่างเหลืออยู่ก็ตาม
  •        คิววงกลมจัดการปัญหานี้โดย กรณี rear ชี้อยู่ที่ตำแหน่งสุดท้ายของคิว ถ้าหากมีการเพิ่มข้อมูล ค่าของ rear จะสามารถวนกลับมาชี้ยังตำแหน่งแรกสุดของคิวได้
  •        ดังนั้นคิววงกลมจะสามารถเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิวได้ จนกว่าคิวจะเต็มจริง ๆ







คิวลำดับความสำคัญ หรือ แถวคอยเชิงบุริมภาพ  (Priority Queue)

บางครั้งเราพบว่า การเข้ารับบริการ ไม่เป็นไปตามกฎของคิว  เนื่องจากได้รับอภิสิทธิ์ (priority) ให้สามารถเข้ารับบริการก่อนได้ เช่น  ลูกค้าประจำจะได้รับการบริการก่อน ถึงแม้จะเข้ามาทีหลังลูกค้าจรคนอื่นที่คอยอยู่ก็ตาม  หรือในร้านถ่ายเอกสาร ถ้าพนักงานกำลังถ่ายเอกสารให้ลูกค้าคนหนึ่งจำนวน 100 หน้า แล้วมีลูกค้าใหม่มาขอถ่ายเพียงแค่ 2 หน้า พนักงานก็บริการให้ลูกค้าคนใหม่นั้นทันที
ใน คิวธรรมดา ข้อมูลที่เข้ามาก่อนจะมีสิทธิ์ออกก่อน (First In First  Out:FIFO) อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่เราต้องยกให้สมาชิกบางประเภทได้ทำงานก่อนทั้งที่มาทีหลัง เช่น การให้คิวงานที่เล็กกว่าได้ทำก่อน หรือ การให้สิทธิพิเศษแก่การทำงานบางประเภท
คิวลำดับความสำคัญทำให้เราสามารถประยุกต์ใช้คิวได้ดีขึ้น เนื่องจากเพิ่มการให้ความสำคัญของสมาชิกที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เราสามารถจัดเรียงคิวได้ใหม่ให้เหมาะสมกับการทำงานได้ เราใช้คิวลำดับความสำคัญในการจัดการทำงานการตรวจนับ

Priority Queue
ในการทำงานกับคิวแบบนี้ ต้องมีค่าอภิสิทธิ์ของแต่ละสมาชิกเก็บไว้ด้วย เพื่อใช้หาตำแหน่งที่อยู่ก่อนหน้าสมาชิกที่มีอภิสิทธิ์ต่ำกว่าและตามหลังสมาชิกที่มีอภิสิทธิ์เท่ากันหรือสูงกว่า

typedef struct {   int    priority;
char data;
}  Queue;
Queue    priority_queue[15];







การประยุกต์ใช้ Queue
ตัวอย่างการประยุกต์คิวมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์
  •        การเข้าคิวของโปรเซสหรืองานต่าง ๆ เพื่อรอการประมวลผลจากซีพียูตามลำดับ
  •        การแบ่งเวลา (Time Sharing) ด้วยการจำกัดตารางเวลาการประมวลผลของแต่ละโปรเซส ส่งผลให้สามารถหมุนเวียนการประมวลผลในแต่ละโปรเซสสลับไปมาได้ ทำให้ดูเหมือนกับการประมวลผลงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน (Multitasking)
  •        การเข้าคิวเพื่อรอผลลัพธ์จากเครื่องพิมพ์








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Tree

กราฟ(Graph)